ถามตอบ Q&A
1. โรคอัลไซเมอร์สามารถรักษาได้หายขาดหรือไม่?
คำตอบ แนวทางการรักษาโรคอัลไซเมอร์มีทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา การรักษาด้วยยาเป็นไปเพื่อช่วยปรับเรื่องการรู้คิด ความจำ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการสมองเสื่อมบรรเทาลง สามารถทำกิจกรรมที่ใช้สมองเพิ่มขึ้น รวมถึงใช้ยาทางจิตเวชเพื่อรักษาตามอาการทางจิตที่เป็นปัญหาและปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย แต่ที่สำคัญคือวิธีการรักษาแบบไม่ใช้ยา ซึ่งเป็นแนวทางหลักที่ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ใช้ในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และผู้ดูแล “แนวทางการรักษาแบบไม่ใช้ยาจะมุ่งไปที่คนไข้กับผู้ดูแล เพราะการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ สมองเสื่อมให้ได้ผลดี ให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับผู้ดูแล โดยเราจะเน้นที่กิจกรรมบำบัดเพื่อกระตุ้นสมอง การรู้คิด ปรับลดปัญหาพฤติกรรม ช่วยให้คนไข้ ได้ฝึกทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ
2. เราสามารถสังเกตอาการเตือนของโรคสมองเสื่อมจากพฤติกรรมได้หรือไม่?
คำตอบ เราสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมอาการหลงลืม จำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ เช่น
- พูดหรือถามคำถามเดิมซ้ำๆ
- วางของผิดที่ อย่างเอาโทรศัพท์ไปใส่ตู้เย็น เอาแปรงสีฟันไปใส่ตู้กับข้าว
- เอาของใช้ในครัวไปไว้ในห้องน้ำ แล้วก็หาของชิ้นนั้นไม่เจอ
- จำนัดหมายไม่ได้
- จำรายละเอียดเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านไปไม่ได้
- กินข้าวแล้วบอกว่ายังไม่ได้กิน เป็นต้น
ซึ่งอาการเหล่านี้จะต่างจากคนสูงวัยที่มีอาการหลงลืมทั่วไปคือ อาการหลงลืมเกิดขึ้นบ่อย ต้องใช้เวลานานในการนึกทบทวนแล้วก็ยังนึกไม่ออก เหมือนความจำเรื่องนั้นมันไม่เคยเกิดขึ้นหรือมันหายไปเลย ในขณะที่คนทั่วไปจะหลงลืมชั่วขณะแล้วพอจะนึกออกได้ในเวลาต่อมา
3. หากสนใจคัดกรองโรคสมองเสื่อมสำหรับผู้ที่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยสามารถติดต่ออย่างไรได้บ้าง?
คำตอบ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-256-4000 ต่อ 5180,5182 หรือ 02-256-4000 ต่อ 71507 โดยบริการมีค่าใช้จ่าย
4. การทำกิจกรรมที่ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีความสำคัญอย่างไร?
คำตอบ กิจกรรมที่ทางศูนย์เลือกมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมล้วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของสมอง ส่งผลให้ผู้รับบริการมีความสุขมากขึ้น กิจกรรมจะถูกปรับให้ผู้รับบริการสามารถร่วมกิจกรรมได้ และรู้สึกอยากเข้าร่วมกิจกรรมได้ครั้งต่อไป
5. กิจกรรมเริ่มตอนกี่โมง ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ในการทำกิจกรรม และที่ศูนย์มีกิจกรรมอะไรบ้าง?
คำตอบ ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะให้บริการตั้งแต่ 9.00 น. โดยมีกิจกรรมภาคเช้า 2 กิจกรรม เวลา 09.00 – 12.00 น.และภาคบ่าย เวลา 13.00 – 14.00 น. อีก 1 กิจกรรม โดยแต่ละกิจกรรมใช้เวลาประมาณ 45 นาที
“โดยในทุกเช้าจะมีการเตรียมตัวผู้รับบริการในห้องบำบัดประมาณครึ่งชั่วโมงเน้นการทบทวน วันเดือน ปี สถานที่ และกิจกรรมเบาๆเพื่อให้ผู้รับบริการผ่อนคลายและมีความพร้อมในการเช้าร่วมกิจกรรมต่อไป หลังจากนั้นจะเข้ากิจกรรมกลุ่มเพื่อกระตุ้นการรู้คิด เช่น กิจกรรมกลุ่มกระตุ้นสมอง ดนตรีบำบัด ร้องเพลง งานศิลปะ ศิลปะบำบัด ทำอาหาร ทำสวนปลูกต้นไม้ กิจกรรมสันทนาการและการเล่นเกม กิจกรรมรำลึกความหลังโดยให้ผู้ป่วยพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวและความรู้สึกดีๆที่เคยผ่านมาในอดีต นอกจากนั้นยังมีกิจกรรออกกำลังกาย เช่นกลุ่มยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โยคะ และกิจกรรม ADL Training (Activities of Daily Living) ซึ่งเป็นการสอนทำกิจวัตรประจำวันง่ายๆ เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว รับประทานอาหาร เป็นต้น ซึ่งทุกกิจกรรมที่กล่าวมา ผู้รับบริการสามารถเลือกได้ตามความสนใจ”
6. ผู้ดูแลได้เรียนรู้อะไรจากการพาผู้รับบริการมาที่ศูนย์?
คำตอบ ผู้ดูแลจะมีความเข้าใจในการดูแลผู้รับบริการของท่าน รวมถึงได้เรียนรู้วิธีการรับมือผ่านการทำกิจกรรมกลุ่ม และสิ่งสำคัญที่ได้คือการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งไม่ใช่แค่สังคมของผู้รับบริการด้วยกันเอง แต่เกิดสังคมในกลุ่มของผู้ดูแลด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งผู้รับบริการและผู้ดูแล
7. จะติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆ ได้ทางช่องทางไหนบ้าง?
คำตอบ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อนัดหมาย ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเข้าร่วมบำบัดหรือเข้าร่วมกิจกรรมฝึก ได้ที่ อาคาร ส.ธ. ชั้น 15 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โทร. 0-2256-40000 ต่อ 71501 หรือทางเฟสบุ๊ก “ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย” ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อ add Line ของศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมไว้เพื่อสอบถามหรือขอข้อมูลเพิ่มเติม
8. ทางศูนย์มีหลักสูตรการฝึกอบรบ ผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่?
คำตอบ มี หลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม (D-CARE) เว็บไซต์ www.dcarechula.com
9. ทางศูนย์มีบริการอื่นๆ สำหรับประชาชนทั่วไป หรือไม่?
คำตอบ ชมรมสมองใสใจสบาย โทรศัพท์ 02-2564000 ต่อ 71506
หน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านการรู้คิดบกพร่องและภาวะสมองเสื่อม โทรศัพท์ 02-2564000 ต่อ 71507