กิจกรรมบำบัดและฟื้นฟูผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม

ให้การบำบัดและฟื้นฟูสมองและความสามารถในการฝึกกิจวัตรประจำวันของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม สร้างความเข้าใจและทักษะในการดูแลผู้ป่วยกับญาติและผู้ดูแล

หลักการของการให้บริการ

  • ให้บริการและคิดค้นแนวทางการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
  • เป็นต้นแบบและมีประสิทธิภาพ
  • ให้ความเคารพกับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมและครอบครัว
  • สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงระดับชาติและนานาชาติ

เป้าหมายของศูนย์

  1. ให้การดูแลฟื้นฟูผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
  2. เป็นแหล่งให้ความรู้ให้กับผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม
  3. คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
  4. ช่วยวางแผนการดูแลในระยะยาว
  5. สร้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
  6. สร้างผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล

เกณฑ์การเข้ารับบริการ

  1. มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
  2. มีภาวะสมองเสื่อมที่ผ่านการประเมินจากคลินิกโรคสมองเสื่อม หรือคลินิกอื่นๆในและนอกโรงพยาบาล
  3. มีภาวะสมองเสื่อมระดับ น้อย-ปานกลาง (mild to moderate dementia)
  4. ไม่มีภาวะโรคทางกายที่ยังควบคุมไม่ได้
  5. สามารถเดินได้เอง หรือใช้เครื่องช่วยพยุงในเดิน
  6. สามารถใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสาร
  7. มีผู้ดูแลที่สามารถอยู่กับผู้ป่วยได้ตลอดทั้งวัน
  8. สามารถรับประทานอาหารทางปากได้
  9. ไม่มีปัญหาทางระบบทางเดินหายใจที่ต้องพึ่งพาออกซิเจนหรือเครื่องดูดเสมหะ
  10. ผ่านการประเมินโดยแพทย์ประจำศูนย์ฯ และตามเกณฑ์การประเมินของสหสาขาวิชาชีพของศูนย์ฯ

ขั้นตอนการเข้ารับบริการ

กรณีที่ 1 ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

  1. มีประวัติการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย-ปานกลางจากคลินิกโรคสมองเสื่อม (ภปร.ชั้น12) หรือคลินิกอื่นๆ ในโรงพยาบาล
  2. กรอกใบสมัครเพื่อเข้ารับบริการที่ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม อาคาร ส.ธ.ชั้น 15
  3. รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ สำหรับนัดวันประเมินแรกรับ
  4. ประเมินแรกรับโดยแพทย์ประจำศูนย์ฯ และเจ้าหน้าที่ภายในศูนย์ฯ
  5. เข้ารับบริการเมื่อผ่านเกณฑ์การประเมิน

กรณีที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม จากโรงพยาบาลอื่นๆ

  1. ขอสรุปประวัติ คำวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้นจากโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ในปัจจุบัน ว่ามีภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย -ปานกลาง
  2. กรอกใบสมัครเพื่อเข้ารับบริการที่ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม อาคาร ส.ธ.ชั้น 15
  3. รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ สำหรับนัดวันประเมินแรกรับ
  4. ประเมินแรกรับโดยแพทย์ประจำศูนย์ฯ และเจ้าหน้าที่ภายในศูนย์ฯ
  5. เข้ารับบริการเมื่อผ่านเกณฑ์การประเมิน

กรณีที่ 3 ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม

  1. เข้ารับการตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อม (ภปร.12) คลินิกอื่นๆในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ในปัจจุบัน
  2. กรอกใบสมัครเพื่อเข้ารับบริการที่ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม อาคาร ส.ธ.ชั้น 15
  3. รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ สำหรับนัดวันประเมินเพื่อเข้ารับบริการ
  4. ประเมินแรกรับโดยแพทย์ประจำศูนย์ และเจ้าหน้าที่ภายในศูนย์ฯ
  5. เข้ารับบริการเมื่อผ่านเกณฑ์การประเมิน